รูปแบบการเชื่อมโยงหรือโทโปโลยี Topology

| ไอที | Network | 47921

รูปแบบการเชื่อมโยงหรือโทโปโลยี Topology

เป็นรูปแบบของการเชื่อมต่อกันระหว่างโหนดตั้งแต่ 2 โหนดขึ้นไป โดยโทโปโลยี สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ แบบ Mesh แบบ Star แบบ Bus และก็แบบ Ring

Mesh Topology

โทโปโลยีแบบนี้ โหนดทุกโหนดจะเชื่อมโยงกันหมด ดังนั้น ถ้ามี N โหนด จะต้องใช้สายในการเชื่อมโยงทั้งหมด N(N-1)/2 เส้น และแต่ละโหนดจะมี Input และ Output เท่ากับ N-1

จากรูปมีโหนดทั้งหมด 5 โหนด เพราะฉะนั้น จึงต้องใช้สายในการเชื่อมโยงทั้งหมด 5(5-1)/2 = 10 เส้น และแต่ละโหนดจะมี Input และ Output เท่ากับ 5-1 = 4

ข้อดี : - ลดปัญหาการจราจรภายในเครือข่าย เนื่องจากไม่ต้องใช้สื่อร่วมกัน - ถ้ามีสายเส้นหนึ่งเส้นใดเสียหาย จะไม่ส่งผลต่อระบบ เนื่องจากระบบยังคงส่งสัญาณได้ - มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากระบบจะส่งข้อมูลไปให้โดยตรง - ตรวจสอบความถูกต้องได้ง่าย
ข้อเสีย : - ต้องใช้สายจำนวนมากในการต่อ ทำให้สิ้นเปลือง - มีข้อจำกัดในการนำไปต่อกับ Topology อื่น ๆ


Star Topology

โทโปโลยีแบบนี้จะมีโหนดศูนย์กลางเรียกว่า Hub(ฮับ) โดยที่โหนดทุกโหนดจะไม่เชื่อต่อกันเหมือนแบบ Mesh Topology แต่จะเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดกับ Hub แทน ซึ่ง Hub เป็นเหมือนตัวกลางในการรับส่งข้อมูล เวลาจะทำการส่งข้อมูลจะกระทำผ่าน Hub ที่เป็นตัวกลาง ซึ่ง Hub จะทำการส่งข้อมูลไปยังปลายทางแทน

จากรูปโหนดทั้งหมดจะต่อแบบจุดต่อจุดกับ Hub ซึ่งเป็นตัวกลางของเครือข่าย

ข้อดี : - การขยายขนาดทำได้ง่ายโดยการนำสายเชื่อมต่อเข้าสู่ Hub - ถ้ามีสายเส้นหนึ่งเส้นใดเสียหาย จะไม่ส่งผลต่อระบบ - ตรวจสอบความถูกต้องได้ง่าย - ติดตั้งและปรับปรุงได้ง่าย
ข้อเสีย : - ถ้า Hub เสียระบบก็จะเสียไปด้วย - ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงถ้ามองในแง่ของเน็ตเวิร์คขนาดเล็ก


Bus Topology

โทโปโลยีแบบนี้จะใช้การเชื่อมโยงแบบหลายจุด(multipoint) ซึ่งโหนดแต่ละโหนดจะต้องเชื่อมต่อกับสายสื่อสารที่เรียกว่า Bus ซึ่งทำหน้าที่เป็น Backbone(แบ็กโบน) ของระบบ ข้อมูลจะถูกส่งออกไปตามสาย โดยไม่สนว่าเครื่องไหนคือผู้รับ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะตรวจสอบเองว่าใช่หรือเปล่า ถ้าใช่ก็รับมา ถ้าไม่ใช่ก็ปล่อยข้อมูลไป

จากรูปโหนดแต่ละโหนดจะต่อเข้ากับสาย Bus ด้วย T-Connector ที่ใช้เป็นตัวกลาง และจะมี Terminator เป็นอุปกรณ์ปิดปลายสายสัญญาณของระบบ หน้าที่ของ Terminator จะเป็นตัวดูดซับสัญญาณไม่ให้ไหลย้อนกลับ ไปกวนกับระบบสัญญาณอื่น ในสาย Terminator มีความต้านทาน 50 โอห์ม ดังนั้นถ้าไม่มี Terminator ก็อาจจะใช้ตัวต้านทานอื่นที่มีขนาด 50 โอห์มแทนได้

ข้อดี : - ประหยัด สะดวก ง่ายต่อการติดตั้ง - การนำโหนดต่าง ๆ เข้ามาต่อ จะกระทำได้ง่าย 
ข้อเสีย : - เนื่องจากมี T-Connecter เป็นตัวเชื่อม ซึ่งอาจลดทอนประสิทธิภาพลงไปบ้าง - ถ้าหากมีจุดเสีย จะยากต่อการตรวจพบ - จำนวนเครื่องมีผลต่อประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์ค


Ring Topology

โทโปโลยีแบบนี้โหนดแต่ละตัวจะต่อกันแบบจุดต่อจุดกับอีกสองโหนดข้างเคียง สัญญาณจะถูกส่งเป็นทอด ๆ จากโหนดหนึ่งไปสู่อีกโหนดหนึ่ง การส่งสัญญาณชนิดนี้จะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสุดท้าย การส่งจะส่งไปในทิศทางเดียว เมื่อคอมพิวเตอร์ต้องการจะส่งข้อมูล ก็จะใส่ตำแหน่งของเครื่องที่มันต้องการส่ง เครื่องแต่ละเครื่องก็จะเช็คข้อมูลว่าเป็นของเครื่องตนเองหรือเปล่า ถ้าใช่ก็เก็บข้อมูลไปถ้าไม่ใช่ก็ปล่อยข้อมูลนั้นทิ้งไปในวงแหวนต่อไป และสัญญาณจะวิ่งไปจนเจอคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น

จากรูปโหนดแต่ละโหนดจะต่อกันเป็นวงแหวน เนื่องจากข้อมูลจะวิ่งไปเรื่อย ๆ เป็นวงกลม ดังนั้นจึงไม่ต้องมีอุปกรณ์ปิดหัวท้ายของระบบ มักจะใช้กับเน็ตเวิร์กที่อยู่กันไม่ไกลมากนัก

ข้อดี : - การเพิ่มหรือลดโหนดจะง่าย - ตรวจสอบความถูกต้องได้ง่าย
ข้อเสีย : - ถ้าหากเครื่องหนึ่งเครื่องใดเสีย อาจส่งผลทั้งระบบ - มีความปลอดภัยต่ำ

comments




เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample