การวนลูปแบบ for ใน Java

| ไอที | Java | 48626

การใช้งาน for และตัวอย่างการใช้ ในภาษาจาวา

for loop จะมีการใช้งานคล้าย ๆ กับ while loop แต่จะง่ายกว่าสำหรับการใช้งาน และมีค่า index ให้ใช้ได้ด้วย เพราะ for loop จะมีการรวมของ 3 องค์ประกอบของ loop โดยทั่วไป นั่นคือ ค่าเริ่มต้น การตรวจสอบ และการเพิ่มของค่า

การใช้งาน loop for เป็นการใช้งานการวนลูปที่เหมาะสำหรับการวนที่มีจำนวนครั้งที่แน่นอน

ก่อนอื่น เรามาดู flowchart กันก่อนดีกว่าครับ ตามรูปด้านล่างเลยครับ



จากรูป จะเห็นว่า อันกับแรกเราต้องกำหนดค่าเริ่มต้นก่อน จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ ถ้าเป็นจริง ก็จะทำงานในส่วนของ loop body หรือ block ของ loop for นั่นเอง เมื่อทำเสร็จ ก็จะไป update นั่นคือ การเพิ่มค่า หรือลดค่า ตามที่เรากำหนด จากนั้นก็ไปสู่กระบวนการตัดสินใจอีก เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเป็นเท็จ ถ้าเป็นเท็จเมื่อไหร่ ก็จะออกจาก loop เมื่อนั้น

ดู flowchart และได้รู้จักกันไปบ้างแล้ว ต่อไปเรามาดู Syntax กันต่อดีกว่า ตามโค้ดด้านล่างเลยครับ

for(init-stmt; condition; next-stmt)
{
  body code
}

จาก Syntax ข้างบน เรามีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน นั่นคือ

- init-stmt คือคำสั่งแรกที่จะทำก่อนที่จะเริ่มต้น loop เปรียบเทียบกับ flowchart ข้างบนก็คือช่องสี่เหลี่ยม INITIALIZATION นั่นเอง ค่านี้มักจะใช้เป็นค่าในการกำหนดตัวแปรเริ่มต้น
- condition คือนิพจน์เงื่อนไขที่จะต้องทดสอบทุก ๆ ครั้ง ก่อนจะทำในลูป หรือออกจากลูป นิพจน์นี้จะคืนค่าจริงหรือเท็ยเท่านั้น ถ้าเป็นจริงก็จะทำในลป ถ้าเป็นเท็จก็จะออกจากลูป
- next-stmt คือคำสั่งที่ใช้ในการเพิ่มหรือลดค่าในแต่ละลูป

ต่อไปเรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า ตามด้านล่างเลยครับ

ตัวอย่างที่ 1

public static void main(String[] args){
  for(int i = 0; i < 5; i++){
    System.out.print(i + " ");
  }
}

Output
0 1 2 3 4

จากโค้ดข้างบนเราจะเห็นว่า มีสามส่วนที่สำคัญ
- init-stmt นั่นก็คือส่วนแรก ซึ่งก็คือ กำหนด i เป็น int ที่มีค่าเริ่มต้น เท่ากับ 0
- condition นั่นก็คือส่วนที่สอง ซึ่งก็คือ เช็คกว่า i น้อยกว่า 5 หรือไม่ ถ้าใช่ก็ทำต่อ ถ้าไม่ใช่ ก็ออกจากลูป
- next-stmt นั่นก็คือส่วนที่สาม ซึ่งก็คือ การเพิ่ม i ขึ้นหนึ่งในแต่ละรอบ

ถ้าเราเปลี่ยน ค่าเริ่มต้นละ ผลจะเป็นยังไง ?????

ตัวอย่างที่ 2

public static void main(String[] args){
  for(int i = 2; i < 5; i++){
    System.out.print(i + " ");
  }
}

Output
2 3 4

ตัวอย่างที่ 3

public static void main(String[] args){
  for(int i = 0; i < 5; i = i + 2){
    System.out.print(i + " ");
  }
}

Output
0 2 4

ตัวอย่างที่ 4

public static void main(String[] args){
  for(int i = 1; i < 5; i = i * 2){
    System.out.print(i + " ");
  }
}

Output
1 2 4

คราวนี้เรามาลองเปลี่ยนเป็นลดค่ากันดูบ้าง

ตัวอย่างที่ 5

public static void main(String[] args){
  for(int i = 5; i > 0; i--){
    System.out.print(i + " ");
  }
}

Output
5 4 3 2 1

ตัวอย่างที่ 6

public static void main(String[] args){
  for(int i = 5; i > 0; i = i/2){
    System.out.print(i + " ");
  }
}

Output
5 2 1


comments




เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample