อายตนะ ๖

| สังคมศาสตร์ | ศาสนา | 3861
อายตนะ ๖

อายตนะ ๖ แปลว่า ที่ต่อ หรือดินแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือแหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่ายๆว่าทางรับรู้มี ๖ อย่าง ดังที่เรียกในภาษาไทยว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อายตนะภายนอก ๖ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย และสิ่งที่ใจนึก โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “อารมณ์” แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต แปลง่ายๆ ว่าสิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ สิ่งที่ถูกรู้นั่นเอง

เมื่ออายตนะ (ภายใน) ซึ่งเป็นแดนรับรู้กระทบกับอารมณ์(อายตนะภายนอก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่างๆขึ้น เช่น ตากระทบรูปเกิดความรู้เรียกว่า “เห็น”

สรุปได้ว่า อายตนะ ๖ อารมณ์ ๖ และวิญญาณ ๖ มีชื่อในภาษาธรรม และมีความสัมพันธ์กันดังนี้

๑.จักขุตา - ตาเป็นแดนรับรู้รูป – รูปเกิดความรู้คือจักขุวิญญาณ - เห็น
๒.โสตะ – หูเป็นแดนรับรู้สัททะ – เสียงเกิดความรู้คือโสตวิญญาณ – ได้ยิน
๓.ฆานะ – จมูกเป็นแดนรับรู้คันธะ – กลิ่นเกิดความรู้คือฆานวิญญาณ – ได้กลิ่น
๔.ชิวหา – ลิ้นเป็นแดนรับรู้รส – รสเกิดความรู้คือชิวหาวิญญาณ – รู้รส
๕.กาย – กายเป็นแดนรับรู้โผฏฐพพะ – สิ่งต้องกายเกิดความรู้คือกายวิญญาณ – รู้สิ่งต้องกาย
๖.มโน – ใจเป็นแดนรับรู้ธรรม – เรื่องในใจเกิดความรู้คือมโนวิญญาณ – รู้เรื่องในใจ
การรับรู้ จะเกิดขึ้น ต่อเมื่อมีองค์ประกอบเกิดขึ้นครบทั้ง ๓ อย่างคือ อายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ ในกระบวนธรรมนี้ สิ่งที่ควรสนใจเป็นพิเศษในการศึกษาขั้นนี้ ก็คือ ความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามา ซึ่งเกิดขึ้นในลำดับถัดจากผัสสะนั้นเอง ความรู้สึกนี้ในภาษาธรรม เรียกว่า “เวทนา” แปลว่า การเสวยอารมณ์ หรือการเสพอารมณ์ คือความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามานั้น โดยเป็น สุขสบาย ไม่สบาย หรือ เฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง เวทนานี้ ถ้าแบ่งตามทางรับรู้ ก็มี ๖ เท่าจำนวนอายตนะ คือเวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางตา เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางหู เป็นต้น แต่ถ้าแบ่งตามคุณภาพ จะมีจำนวน ๓ คือ ๑. สุข ได้แก่ สบาย ชื่นใจ ถูกใจ ๒. ทุกข์ ได้แก่ ไม่สบาย เจ็บปวด ๓. อทุกขมสุข ได้แก่ ไม่ทุกข์ ไม่สุข คือเรื่อยๆเฉยๆซึ่งเรียกอีกอย่างว่าอุเบกขา อีกอย่างหนึ่ง แบ่งละเอียดลงไปอีกเป็น เวทนา ๕ อย่างคือ ๑. สุข ได้แก่ สบายกาย ๒. ทุกข์ ได้แก่ ไม่สบายกาย เจ็บปวด ๓. โสมนัส ได้แก่ ไม่สบายใจ ชื่นใจ ๔. โทมนัส ได้แก่ ไม่สบายใจ เสียใจ ๕. อุเบกขา ได้แก่ เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ กระบวนการรับรู้เท่าที่กล่าวมานี้ เขียนให้เห็นง่ายๆได้ดังนี้ อายตนะ + อารมณ์ + วิญญาณ = ผัสสะ > เวทนา ความถูกต้องและผิดพลาดของความรู้ เมื่อพูดถึง อายตนะ ซึ่งเป็นแดนรับรู้ ก็ควรทราบเรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ด้วย แต่เรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับความรู้ มีมากมาย หลายอย่างไม่อาจแสดงไว้ในที่นี้ทั้งหมด จึงกล่าวไว้เพียงเรื่องเดียว คือความถูกต้องและผิดพลาดของความรู้และแม้ในหัวข้อนี้ก็จะกล่าวถึงหลักที่ควรทราบเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ก.สัจจะ ๒ ระดับ ผู้สดับคำสอนในพระพุทธศาสนาบางคน เกิดความสับสน เมื่อได้อ่านได้ฟังข้อความบางอย่าง เช่น บางแห่งว่า ไม่ควรคบคนพาล ควรคบบัณฑิต แต่บางแห่งว่า พึงพิจารณาเห็นตามเห็นตามความเป็นจริงว่า กายก็แค่กายไม่ใช่สัตว์ บุคคลหรือตัวตน เราเขา พึงรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา สิ่งทั้งหลายเป็นอนันตา ดังนี้เป็นต้น คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม หวังจะช่วยป้องกันความสับสนผิดพลาดเช่นนี้จึงสอนให้รู้จักแยกสัจจะ หรือความเป็นจริงเป็น ๒ ระดับ กล่าวคือ ๑. สมมติสัจจะ ความจริงโดยสมมติ คือ จริงตามมติร่วมกัน ตามที่ได้ตกลงกันไว้หรือยอมรับร่วมกัน เป็นเครื่องมือสื่อสาร พอให้สำเร็จประโยนช์ในชีวิตประจำวัน (conventional truth) ๒. ปรมัตถสัจจะ ความจริงโดยปรมัตถ์ คือ จริงตามความหมายสูงสุด ตามความหมายแท้ อย่างยิ่ง หรือ ตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่พอจะกล่าวถึงได้ ข.วิปลาส หรือ วิปัลลาส ๓ วิปลาส คือ ความรู้คลาดเคลื่อน ความรู้ที่แปรผิดพลาดจากความเป็นจริง หมายถึง ความรู้คลาดเคลื่อนขั้นพื้นฐาน ที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หลงผิด และเป็นเครื่องกีดกั้นขัดขวางบังตา ไม่ให้มองเห็นสัจภาวะ วิปลาส มี ๓ อย่าง คือ ๑. สัญญาวิปลาส สัญญาคลาดเคลื่อน หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง ๒. จิตวิปลาส จิตคลาดเคลื่อน ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง ๓. ทิฏฐิวิปาลาส ทิฏฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง
comments




เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample