ขันธ์ 5 กับอุปาทานขันธ์ 5 หรือชีวิตกับชีวิตซึ่งเป็นปัญหา

| สังคมศาสตร์ | ศาสนา | 3491
ขันธ์ 5

เมื่อมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของการประชุมส่วนประกอบเช่นนี้ พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง และโดยที่พุทธธรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะในด้านจิตใจ การแสดงส่วนประกอบต่างๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุและจิตใจ หรือทั้งรูปธรรมและนามธรรม และแยกแยะเป็นพิเศษในด้านจิตใจ
โดยวิธีแบ่งแบบ ขันธ์ ๕(The Five Aggregates) พุทธธรรมแยกแบะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมด ที่บัญญัติเรียกว่า  “สัตว์” “บุคคล” ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ

๑.	รูป (Corporeality) ได้แก่ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมดร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมด ของร่างกาย หรือ สสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น
๒.	เวทนา (Feeling หรือ Sensation) ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ
๓.	สัญญา (Perception) ได้แก่ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือกำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้อารมณ์ (object) นั้นๆได้ 
๔.	สังขาร (Mental Formations หรือ Volitional Activities) ได้แก่องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆ โดยมีเจตนาเป็นตัวนำ 
๕.	วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ ๕ หรือชีวิตกับชีวิตซึ่งเป็นปัญหา

สรุปที่สั้นที่สุดว่า คือ อุปาทานขันธ์ ๕ หรือเบญจอุปาทานขันธ์เท่านั้น และ คำว่าขันธ์ในที่นี้มี “อุปทาน” นำหน้าด้วย
comments




เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample