นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)
View: 13718

นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี) อักษรธรรม ๑ ผูก วัดศรีคุณเมือง บ้านาจาน ต.ระเว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี แต่ก่อนนานมาแล้ว มีผัวเมียที่ยากจนมากครอบครัวหนึ่ง แต่งงานมา ๗ ปี ไม่มีลูกจึงขอลูกจากพระอินทร์ พระอินทร์จึงประทานลูกให้เป็นชาย ก่อนท้องแม่ฝันว่าลูกแก้วสีดำตกเข้าปาก ลูกแก้วลอยหนีไปส่งแสงสว่างไปทั่ว เมื่อตั้งท้องเกิดลูกเป็นชายตัวดำเหมือนกา รูปชั่วตัวดำใครๆ ก็หัวเราะเยาะ แม่ไม่ยอมเลี้ยงเพราะอับอายจึงเอาไปล่องแพทิ้ง เด็กดำลอยไปอยู่ ๗ วัน ๗ คืน ก็มาถึงหาดทรายแห่งหนึ่ง พระอินทร์เล็งเห็นว่าลำบากเลยให้กาดำมาช่วยพาไปไว้เมืองเบ็งจาล กินรีเลยหาผลไม้กินเป็นอาหาร เจ้าของสวนมาพบเข้าจึงเอาไปเลี้ยงไว้ วันหนึ่งกินรีช่วยยายเจ้าของสวนร้อยดอกไม้มาลัยได้สวยงามมาก ยายเอาไปถวายธิดากษัตริย์ชื่อนางลุน นางลุนก็อยากเห็นตัวคนร้อยมาลัย วันหนึ่งกินรีทำอุบายให้ยายพานางมาชมสวน เมื่อได้พบนาง ก็หลงรัก กินรีมีความสามารถในการเป่าแคนได้ไพเราะ จึงเป่าแคนให้ผู้คนฟัง เสียงเล่าลือว่ากินรีเป่าแคนได้ไพเราะไปทั่วเมือง วันหนึ่งกินรีได้ถอดรูปร้ายกลายเป็นคนร่างงามสง่าไปหานางลุนบอกนางว่ามาจากเมืองอินทปัฐ และได้นางเป็นเมีย เจ้าเมืองฝันว่าช้างมาไล่คน กินอ้อยกล้วยของเมือง จึงให้หมอมาทาย กาดำได้เฝ้ากษัตริย์ เพราะชื่อเสียงว่าเป่าแคนเพราะ กลางคืนกินรีไปหานางและได้ขอแหวนและผ้าสไบมาไว้เป็นที่ระลึก กลับมาบ้านให้ยายไปขอให้ เจ้าเมืองเรียกสินสอดเงินแสนชั่ง ทองแสนชั่ง ช้างพันตัว มีคนขับขี่พร้อม คนใช้พันคน สะพานเงิน สะพานทอง จากบ้านยายไปหาพระราชวัง พระอินทร์พระยานาคมาช่วยทำสะพาน หาสินสอดในที่สุดกินรีกับนางลุนก็ได้แต่งงานกัน