ค่าสัมบูรณ์ (Absolute Value)

| วิทยาศาสตร์ | คณิตศาสตร์ | 17713
ค่าสัมบูรณ์ เป็นค่าที่บอกว่ามีค่าห่างจากเลข 0 เท่าไหร่

เราไปดูเส้นจำนวนกัน จากตัวอย่างด้านล่าง ซึ่งเราจะหาว่ามีระยะห่างจากเลข 0 เท่าไหร่

จากเส้นจำนวน 6 มีค่า 6 เป็นค่าที่ห่างจากเลข 0 จากเส้นจำนวน -6 ก็ยังมีค่า 6 เป็นค่าที่ห่างจากเลข 0 ดังนั้น ค่าสัมบูรณ์ของ 6 ก็คือ 6 และค่าสัมบูรณ์ของ -6 ก็คือ 6 ตัวอย่างอื่น ๆ ค่าสัมบูรณ์ของ -9 ก็คือ 9 ค่าสัมบูรณ์ของ 3 ก็คือ 3 ค่าสัมบูรณ์ของ 0 ก็คือ 0 ค่าสัมบูรณ์ของ -128 ก็คือ 128 ไม่สามารถเป็นค่าลบได้ ค่าสัมบูรณ์เป็นค่าระยะที่ห่างจากเลข 0 ดังนั้นจะไม่มีทางเป็นลบ ดังนั้นในทางปฏิบัติ ถ้าเราเจอจำนวนลบ เราก็แค่เปลี่ยนให้มันเป็นจำนวนบวก สัญลักษณ์ของค่าสัมบูรณ์ (Absolute Value Symbol) ในการแสดงสัญลักษณ์ว่าค่านั้นเป็นค่าสัมบูรณ์ ให้เราใส่สัญลักษณ์ "|" อ่านว่า บาร์(bars) ตัวอย่างเช่น ค่าสัมบูรณ์ของ -5 คือ 5 เขียนได้เป็นสัญลักษณ์ดังนี้ |-5| = 5 ค่าสัมบูรณ์ของ 7 คือ 7 เขียนได้เป็นสัญลักษณ์ดังนี้ |7| = 7 ในบางครั้ง ค่าสัมบูรณ์(Absolute) สามารถเขียนได้เป็น "abs()" ดังนั้น abs(−1) = 1 ซึ่งเหมือนกับการเขียน |-1|=1 การลบค่าในค่าสัมบูรณ์ ในการลบค่าในค่าสัมบูรณ์นั้น ค่าสัมบูรณ์ก็ถือว่ามีค่าเท่ากัน ดังตัวอย่างด้านล่าง |8−3| = 5 (8−3 = 5) |3−8| = 5 (3−8 = −5, and |−5| = 5) ตัวอย่างอื่น ๆ ที่น่าสนใจ มีตัวอย่างอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ไปดูกัน |−3×6| = 18 เพราะว่า −3×6 = −18, และ |−18| = 18 −|5−2| = −3 เพราะว่า 5−2 = 3 และจากนั้นมีค่าลบอยู่นอกค่าสัมบูรณ์ จึงได้ −3 −|2−5| = −3 เพราะว่า 2−5 = −3 , |−3| = 3, และจากนั้นมีค่าลบอยู่นอกค่าสัมบูรณ์ จึงได้ −3 −|−12| = −12 เพราะว่า |−12| = 12 และจากนั้นมีค่าลบอยู่นอกค่าสัมบูรณ์ จึงได้ −12
comments




เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample