ปัญหาคนเป็นโรคเก๊าท์ (Gout)

| การดำเนินชีวิต | โรคภัยไข้เจ็บ | 12391

ปัญหาคนเป็นโรคเก๊าท์ (Gout)

เก๊าท์ (Gout) คือโรคที่เกิดจากการมีภาวะกรดยูริคในเลือดสูง และมีอาการข้ออักเสบ (arthritis) ซึ่งเป็นมาจากการมีผลึก Monosodium urate (MSU) มาตกตะกอนในข้อ พบในคนอายุ>35, ช>ญ มักเป็นที่ข้อปลายเช่น ข้อนิ้ว ข้อเท้า



อาการทางคลินิก

มีอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน(Acute gouty arthritis) โดยมักจะมีอาการบวม แดง ร้อน และปวดข้ออย่างรุนแรงแบบเฉียบพลัน เนื่องจากมีผลึก MSU ตกตะกอนในข้อ มักจะมีอาการตอนกลางคืนหรือตอนเช้า ๆ (เนื่องจากตอนกลางคืนร่างกายมีการดูดน้ำกลับจากบริเวณข้อ ทำให้ความเข้มข้นของกรดยูริกในข้อสูงขึ้น) โดยที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักเริ่มเป็นจากข้อเพียงหนึ่งข้อ และมักเป็นที่ข้อในส่วนล่างของร่างกาย เช่น เท้าและขา ซึ่งในคนไทยตำแหน่งที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ข้อเท้า > ข้อโคนหัวแม่เท้า > ข้อเข่า ตามลำดับ

นอกจากนี้อาจพบการตกผลึกของ urate ที่ไต, นิ่วที่ทางเดินปัสสาวะหรือไต และที่พบได้บ่อยคือ ปุ่ม Tophi (ก้อนเนื้อตามผิวหนัง, ใต้ผิวหนัง, อาจพบในกระดูก ข้อ หรืออวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย ที่เกิดจากการตกผลึกของ urate ที่ผิวหนัง ซึ่งก้อน urate เป็นรูปเข็ม ทำให้เกิดการระคายเคืองเกิดเป็น Tophaceous gout)



การวินิจฉัย

การจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค Gout ได้นั้นจะต้องมีอาการ 3 อาการหลัก ดังนี้
1.มีการอักเสบของข้ออย่างเฉียบพลัน ( Acute gouty arthritis )
2.กรวดน้ำที่เจาะจากข้อโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ แล้วพบผลึก urate ซึ่งผลึกมีลักษณะรูปร่างเป็นเข็มยาว แหลม
3.มีภาวะ Hyperuricemia เริ่มจาก ประวัติการมีอาการปวดข้อ และการตรวจร่างกายดังกล่าวข้างต้น โดยโรคเกาต์มักจะปวดทีละข้อแต่ต่างจากโรค SLE หรือ Rheumatoid ที่มักปวดที่ละหลายข้อ เจาะเลือดพบกรด uric > 7 mg% ตรวจหากรดยูริกในปัสสาวะที่เก็บ 24 ชั่วโมง ถ้าค่าสูงมีโอกาสเป็นนิ่วในไต

การรักษา

แพทย์จะให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่น แอสไพริน (ขนาดสูง วันละ ๓-๔ ครั้ง ครั้งละ ๓-๔ เม็ด) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อลดการอักเสบของข้อและบรรเทาปวด อาจต้องกินติดต่อกันนานเป็นแรมเดือนหรือแรมปี ยานี้อาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะลำไส้ แพทย์อาจให้กินยารักษากระเพาะ เช่น โอมีพราโซล (omeprazole) ควบคู่ด้วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะลำไส้นอกจากนี้ แพทย์อาจให้การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่นการประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ และการฝึกกายบริหารเป็นต้น



comments




เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample